เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 4. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
4. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แสดงธัมมัฏฐิติญาณ
[45] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นที่ตั้ง1แห่งความเกิดขึ้น เป็นที่
ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่
ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ 9 อย่างนี้
อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี บรรดา
อวิชชาและสังขาร อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่
ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้
เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่ง
ปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ 9 อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขาร
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่า
ธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของนามรูป ฯลฯ นามรูปเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสฬายตนะ ฯลฯ สฬายตนะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ
และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของผัสสะ ฯลฯ ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของเวทนา ฯลฯ เวทนาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็น
ที่ตั้งแห่งปัจจัยของตัณหา ฯลฯ ตัณหาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง
แห่งปัจจัยของอุปาทาน ฯลฯ อุปาทานเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง

เชิงอรรถ :
1 เป็นที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงเป็นเหตุ (ขุ.ป.อ. 1/45/257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :70 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 4. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แห่งปัจจัยของภพ ฯลฯ ภพเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัย
ของชาติ ฯลฯ ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชรา
และมรณะ ด้วยอาการ 9 อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นที่
ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน
เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชราและมรณะ
ด้วยอาการ 9 อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรม
ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[46] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
เป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะเกิดขึ้น
เพราะเหตุ ฯลฯ สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ผัสสะเป็นเหตุ
เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ตัณหา
เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :71 }