เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 10. มาติกากถา
คำว่า ความสละ อธิบายว่า พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าความสละ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าความสละ ฯลฯ สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าความสละ (14)
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า พระโยคาวจรประพฤติละกามฉันทะด้วย
เนกขัมมะ ประพฤติละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ประพฤติละกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค (15)
คำว่า ฌานวิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน เนกขัมมะย่อมเผากามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคล
เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขาย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและ
กิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ อพยาบาทย่อม
เผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาทให้ไหม้ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผาถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ
อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรคย่อมเผากิเลส
ทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขา
ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ (16)
[42] คำว่า ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต อธิบายว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะย่อม
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :608 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 10. มาติกากถา
เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัท
ก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึง
พร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น
บุคคลละพยาบาท เจริญอพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละถีนมิทธะ เจริญอาโลกสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอุทธัจจะ เจริญอวิกเขปะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละวิจิกิจฉา เจริญธัมมววัตถาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอวิชชา เจริญวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละอรติ เจริญปามุชชะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
ฯลฯ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ฯลฯ
ละกิเลสทั้งปวง เจริญอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
บุคคลย่อมตั้งจิตมั่นด้วยอำนาจอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็น
อยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่
ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา
ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อม
องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล (3-19)

มาติกากถา จบ
ปัญญาวรรคที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :609 }