เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 10. มาติกากถา
หมายว่ากั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและ
ความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา (4-6)
คำว่า ปัสสัทธิ อธิบายว่า พระโยคาวจรระงับกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
ระงับพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ระงับกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (7)
คำว่า ญาณ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละพยาบาท ฯลฯ
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละกิเลสทั้งปวง (8)
คำว่า ทัสสนะ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละพยาบาท ฯลฯ อรหัตต-
มรรค ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละกิเลสทั้งปวง (9)
คำว่า วิสุทธิ อธิบายว่า บุคคลเมื่อละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมหมดจดด้วยอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อม
หมดจดด้วยอรหัตตมรรค (10)
คำว่า เนกขัมมะ อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็นเครื่อง
สลัดรูป นิโรธเป็นเนกขัมมะแห่งสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกันเกิดขึ้น
อพยาบาทเป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท อาโลกสัญญาเป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเนกขัมมะแห่งกิเลสทั้งปวง (11)
คำว่า เครื่องสลัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็น
เครื่องสลัดรูป นิโรธเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ อพยาบาทเป็นเครื่องสลัดพยาบาท
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง (12)
คำว่า ความสงัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นความสงัดของกามฉันทะ
อพยาบาทเป็นความสงัดของพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นความสงัดของกิเลส
ทั้งปวง (13)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :607 }