เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
คำว่า โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นดังเพชฌฆาต ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความเสื่อมไป ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีอาสวะ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (10 = 30)
คำว่า โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
(10 = 40 )
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่างนี้ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ 40 อย่างนี้
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่างนี้ ผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ 40 อย่างนี้มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตา-
นุปัสสนาเท่าไร
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา 50
มีทุกขานุปัสสนา 125 มีอนัตตานุปัสสนา 25 ฉะนี้
วิปัสสนากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :605 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 10. มาติกากถา
10. มาติกากถา
ว่าด้วยหัวข้อธรรม
[40] ผู้ไม่มีความหิว โมกข์ วิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
ปัสสัทธิ ญาณ ทัสสนะ วิสุทธิ เนกขัมมะ เครื่องสลัด ความสงัด ความสละ
ความประพฤติ ฌานวิโมกข์ ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต (19)
[41] คำว่า ผู้ไม่มีความหิว อธิบายว่า ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยอพยาบาท
ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว
ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (1)
คำว่า โมกข์ วิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะ
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้น
จากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌาน ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากนิวรณ์
ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง (2)
คำว่า วิชชาวิมุตติ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะหลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด
พ้นก็ย่อมรู้ อพยาบาท ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากพยาบาท
ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ ฯลฯ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ (3)
คำว่า อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ
มีความหมายว่ากั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน
และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตต-
สิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา อพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
ความหมายว่ากั้นพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :606 }