เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
คำว่า โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นดังเพชฌฆาต ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความเสื่อมไป ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีอาสวะ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (10 = 30)
คำว่า โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
(10 = 40 )
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่างนี้ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ 40 อย่างนี้
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่างนี้ ผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ 40 อย่างนี้มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตา-
นุปัสสนาเท่าไร
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา 50
มีทุกขานุปัสสนา 125 มีอนัตตานุปัสสนา 25 ฉะนี้
วิปัสสนากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :605 }