เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
[39] คำว่า โดยความไม่เที่ยง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นโรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังหัวฝี ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังลูกศร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอาพาธ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอย่างอื่น ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของชำรุด ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอัปปมงคล ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (10)
คำว่า โดยเป็นอันตราย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นภัย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอุปสรรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความหวั่นไหว ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของผุพัง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความว่างเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา (10=20)
คำว่า โดยความเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นสุญญตะ ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอนัตตา ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นโทษ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :604 }