เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
33. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเกิด” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
34. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความแก่” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
35. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
36. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความตาย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
37. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
ไม่มีความเศร้าโศก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
38. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความรำพัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
39. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานที่ไม่มีความคับแค้นใจ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
40. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความเศร้าหมอง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :603 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
[39] คำว่า โดยความไม่เที่ยง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นโรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังหัวฝี ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังลูกศร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอาพาธ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอย่างอื่น ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของชำรุด ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอัปปมงคล ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (10)
คำว่า โดยเป็นอันตราย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นภัย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอุปสรรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความหวั่นไหว ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของผุพัง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความว่างเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา (10=20)
คำว่า โดยความเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นสุญญตะ ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอนัตตา ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นโทษ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :604 }