เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
15. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของผุพัง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
16. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
17. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ต้านทาน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
18. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ป้องกัน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
19. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่พึ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
20. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยว่างเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
21. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
22. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นสุญญตะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานว่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
23. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีประโยชน์อย่างยิ่ง”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :601 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
24. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นโทษ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
25. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
26. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีแก่นสาร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
27. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่ง
ความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
28. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นดังเพชฌฆาต ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
29. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเสื่อมไป ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
30. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีอาสวะ ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
31. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
32. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่ง
มาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :602 }