เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
6. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
7. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอาพาธ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
8. เมื่อเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นอื่น ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
9. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของชำรุด ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
10. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอัปปมงคลย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
11. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอันตราย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอันตราย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
12. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นภัย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีภัย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
13. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอุปสรรคย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
14. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความหวั่นไหว ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :600 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
15. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของผุพัง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
16. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
17. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ต้านทาน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
18. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ป้องกัน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
19. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่พึ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
20. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยว่างเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
21. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
22. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นสุญญตะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานว่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
23. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีประโยชน์อย่างยิ่ง”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :601 }