เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[58] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ)
[59] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค)
[60] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[61] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์)
[62] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์)
[63] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
[64] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ)
[65] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[66] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ)
[67] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ)
[68] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย)
[69] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย)
[70] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์)
[71] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ)
[72] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง)
[73] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น)
ญาณเหล่านี้รวมเป็น 73 ประการ ในญาณทั้ง 73 ประการนี้ ญาณ 67
ประการ (เบื้องต้น) เป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ญาณ 6 ประการ (เบื้องปลาย)
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก (เฉพาะพระตถาคตเท่านั้น)

มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :6 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
1. ญาณกถา
ว่าด้วยญาณ
1. สุตมยญาณนิทเทส
แสดงสุตมยญาณ
[1] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (1)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (2)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (3)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (4)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (5)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (6)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (7)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (8)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (9)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :7 }