เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้1ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (2)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความเป็นสุข จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (3)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (4)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอัตตา จัก
เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (5)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (6)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (7)

เชิงอรรถ :
1 เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. 1/268/402)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :597 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา-
คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (8)
[37] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการเท่าไร
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ 40 อย่าง
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ 40 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์

1. โดยความไม่เที่ยง 2. โดยความเป็นทุกข์
3. โดยความเป็นโรค 4. โดยความเป็นดังหัวฝี
5. โดยความเป็นดังลูกศร 6. โดยเป็นความลำบาก
7. โดยเป็นอาพาธ 8. โดยเป็นอย่างอื่น
9. โดยเป็นของชำรุด 10. โดยเป็นอัปปมงคล
11. โดยเป็นอันตราย 12. โดยเป็นภัย
13. โดยเป็นอุปสรรค 14. โดยเป็นความหวั่นไหว
15. โดยเป็นของผุพัง 16. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน
17. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน 18. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน
19. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง 20. โดยเป็นความว่างเปล่า
21. โดยความเปล่า 22. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง)
23. โดยเป็นอนัตตา 24. โดยเป็นโทษ

25. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา
26. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :598 }