เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 8. สติปัฏฐานกถา
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ 7 อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้นและด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า
สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา
ฯลฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ
อาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ 7 อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
และด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ (2)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตมีราคะโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ 7 อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะ
เหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :594 }