เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 7. สมสีสกถา
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยควจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน
วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค
กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถาน ชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌานชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน 13 ประการ ได้แก่
1. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
2. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
3. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
4. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
5. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
6. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
7. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
8. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
9. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
10. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
11. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
12. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
13. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน1
สมสีสกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 87/146-147 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :591 }