เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 2. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีลาภเป็นที่สุด
ศีลไม่มียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะยศเป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ก็ไม่เกิดขึ้น
ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มียศเป็นที่สุด
ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีญาติเป็นที่สุด
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะอวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์
ก็ไม่เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีอวัยวะเป็นที่สุด
ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะชีวิตเป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ
เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีที่สุด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :59 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 2. สีลมยญาณนิทเทส
[39] อะไรชื่อว่าศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่รวมแห่ง
ธรรมอะไร
อะไร ชื่อว่าศีล
เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล ความสำรวมชื่อว่าศีล ความไม่ล่วงละเมิด
ชื่อว่าศีล
ศีลมีเท่าไร
ศีลมี 3 คือ (1) กุศลศีล (2) อกุศลศีล (3) อัพยากตศีล
ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีล
มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน
ศีลเป็นที่รวมแห่งธรรมอะไร
ศีลเป็นที่รวมแห่งความสำรวม เป็นที่รวมแห่งความไม่ล่วงละเมิด เป็นที่รวม
แห่งเจตนาที่เกิดในขณะสำรวมและไม่ล่วงละเมิดนั้น
[40] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม1ปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม
อทินนาทาน ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอทินนาทาน ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่
ล่วงละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมุสาวาท ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมุสาวาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมปิสุณาวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปิสุณาวาจา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง
ละเมิดผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมอภิชฌา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอภิชฌา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง

เชิงอรรถ :
1 คำว่า สำรวม ในที่นี้หมายถึงปิดกั้น ห้าม ระมัดระวัง (ขุ.ป.อ. 1/40/235)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :60 }