เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 6. ปาฏิหาริยกถา
อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญา
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (3)
อวิกเขปะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อวิกเขปะย่อมกำจัดอุทธัจจะ
ได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอวิกเขปะนั้น ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อวิกเขปะ
จึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอวิกเขปะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้
พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อวิกเขปะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น อวิกเขปะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (4)
ธัมมววัตถานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ธัมมววัตถานย่อมกำจัด
วิจิกิจฉาได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (5)
ญาณย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ญาณย่อมกำจัดอวิชชาได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (6)
ปามุชชะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปามุชชะย่อมกำจัดอรติได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (7)
ปฐมฌานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปฐมฌานย่อมกำจัดนิวรณ์
ทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (26 + 7 = 33)
อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัด
กิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตต-
มรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อรหัตตมรรคจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอรหัตตมรรคนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อรหัตตมรรค
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (4 + 33
=37)
[32] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :589 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 7. สมสีสกถา
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์เรียกว่าอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญา
ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัดกิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น
จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล
ปาฏิหาริยกถา จบ

7. สมสีสกถา
ว่าด้วยธรรมที่สงบและเป็นประธาน
[33] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดย
ชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉาขาด
โดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาดโดยชอบ
ด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดย
ชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้ด้วย
อวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้ด้วย
ปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :590 }