เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 5. จริยากถา
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ 8 อย่าง คือ
1. ผู้น้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
2. ผู้ประคองไว้ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
3. ผู้ตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
4. ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
5. ผู้รู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
6. ผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยญาณ
7. ผู้มนสิการว่า “กุศลธรรมย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
8. ผู้มนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าย่อม
ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ 8 อย่าง คือ
1. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา
2. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา
3. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา
4. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา
5. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา
6. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา
7. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา
8. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง
จริยากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :586 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 6. ปาฏิหาริยกถา
6. ปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปาฏิหาริย์
[30] ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ 3 ประการ นี้
ปาฏิหาริย์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือสอนให้เห็นจริง)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้
แสดงให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เราเรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์ (1)
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ทายใจตามเหตุที่กำหนดได้ว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของ
มนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดา ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง
ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็น
อันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ย่อมไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์
หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่
ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็น
ดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :587 }