เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 5. จริยากถา
5. จริยากถา
ว่าด้วยความประพฤติ
[28] คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ 8 อย่าง ได้แก่

1. ความประพฤติในอิริยาบถ 2. ความประพฤติในอายตนะ
3. ความประพฤติในสติ 4. ความประพฤติในสมาธิ
5. ความประพฤติในญาณ 6. ความประพฤติในมรรค
7. ความประพฤติในผล 8. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก

คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ 4
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายใน
และอายตนะภายนอกอย่างละ 6
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน 4
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน 4
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ 4
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค 4
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล 4
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติใน
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน
ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความประพฤติในอายตนะมี
แก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความไม่ประมาท ความ
ประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณมีแก่ผู้บรรลุ
ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความประพฤติในผล
มีแก่ผู้ได้บรรลุ และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบางส่วน
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :585 }