เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 4. วิเวกกถา
ละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี มัคคภาวนามีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การ
ละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่นยังไม่เกิดผล
บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดของต้นไม้นั้นก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็
บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้
ความเกิดขึ้นเป็นเหตุ ความเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดของกิเลส
ทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้วจึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะจิตแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะความเกิด
ขึ้นเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ
ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
ความเป็นไปเป็นเหตุ ...
นิมิตเป็นเหตุ ...
กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นเหตุ กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นปัจจัย
แห่งความบังเกิดของกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมเป็นเครื่องประมวลมาแล้ว
จึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เพราะจิตแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
มัคคภาวนาจึงมีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มี
อยู่ด้วยประการฉะนี้
อภิสมยกถา จบ

4. วิเวกกถา
ว่าด้วยวิเวก
[22] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานนั้น
ทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้อง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :577 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 4. วิเวกกถา
ทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล1
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริย-
มรรคมีองค์ 8 ได้อย่างนี้
[23] ภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคาม2เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ
ภูตคามเหล่านั้นทั้งหมดอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย
ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ศีล ในที่นี้หมายถึงจตุปาริสุทธิศีล 4 (คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และ
ปัจจยสันนิสสิตศีล) (ขุ.ป.อ. 2/22/357)
2 พืชคาม หมายถึงพืช 5 อย่าง คือ พืชจากราก พืชจากต้น พืชจากยอด พืชจากข้อ และพืชจากพืช
ภูตคาม หมายถึงเริ่มตั้งแต่หน่อเขียวสมบูรณ์ (ขุ.ป.อ. 2/23/357)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :578 }