เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 3. อภิสมยกถา
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าจิตต-
วิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิชชา1 เพราะมี
สภาวะรู้แจ้ง การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ2 เพราะมีสภาวะสละ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าญาณ
ในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็น
มูลเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่
ประชุม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
[21] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่
อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทา-
คามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 วิชชา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. 2/20/354)
2 วิมุตติ ในที่นี้หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. 2/20/354)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :575 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 3. อภิสมยกถา
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ การตรัสรู้
ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมี
สภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมี
สภาวะเป็นที่สุด
บุคคลนี้นั้นย่อมละกิเลสได้ คือ ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็น
อนาคตได้ (และ) ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้หรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับแล้วให้ดับไป ทำ
กิเลสที่ปราศจากแล้วให้ปราศจากไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ละกิเลสที่เป็น
อดีตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่
ยังไม่เกิดขึ้น ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละกิเลสที่เป็นอนาคตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละ
โมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือทิฏฐิผิดก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่าน
ก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว1เป็นธรรมคู่กันเป็นไปด้วยกัน มัคคภาวนาที่มีความหม่นหมอง
ด้วยกิเลสนั้นจึงมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละ
กิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันไม่ได้
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่
เป็นปัจจุบันไม่ได้หรือ ถ้าอย่างนั้น มัคคภาวนาก็ไม่มี การทำผลให้แจ้งก็ไม่มี การ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมฝ่ายดำ หมายถึงอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายขาว หมายถึงกุศลธรรม (ขุ.ป.อ. 2/21/354-355)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :576 }