เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 2. สีลมยญาณนิทเทส
2. สีลมยญาณนิทเทส
แสดงสีลมยญาณ
[37] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ศีล 5 อย่าง ได้แก่
1. ปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันมีที่สุด)
2. อปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันไม่มีที่สุด)
3. ปริปุณณปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์บริบูรณ์)
4. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์ที่ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ)
5. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์เพราะการสงบระงับ)
ในศีล 5 อย่างนั้น ปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันมีที่สุด นี้ชื่อว่าปริยันตปาริสุทธิศีล
อปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันไม่มีที่สุด นี้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีล
ปริปุณณปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบกุศลธรรม บำเพ็ญธรรมซึ่งเป็นที่สุดของ
พระเสขะให้บริบูรณ์ ไม่อาลัยในกายและชีวิต สละชีวิตแล้ว นี้ชื่อว่าปริปุณณ-
ปาริสุทธิศีล
อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของพระเสขะ 7 จำพวก นี้ชื่อว่าอปรามัฏฐปาริสุทธิศีล
ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของสาวกพระตถาคตผู้เป็นพระขีณาสพ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล
[38] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล 2 อย่างนั้น ศีลมีที่สุดนั้น
เป็นอย่างไร
คือ ศีลมีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลมียศเป็นที่สุดก็มี ศีลมีญาติเป็นที่สุดก็มี ศีลมี
อวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 2. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะลาภ
เป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีลาภเป็นที่สุด
ศีลมียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะยศ
เป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามียศเป็นที่สุด
ศีลมีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
ญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีญาติเป็น
ที่สุด
ศีลมีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
อวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามี
อวัยวะเป็นที่สุด
ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะชีวิต
เป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไท ท่านผู้รู้ไม่สรรเสริญ
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่ามีที่สุด
ศีลไม่มีที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มียศเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดก็มี
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :58 }