เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
[14] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เนรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะ
ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้
ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษชัก
ดาบออกจากฝัก เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง
ฝักก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ชักออกจากฝักนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษเอางู
ออกจากกระทอ เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง
กระทอก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง” ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เนรมิตกายอื่นนอกจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ (3)
[15] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิจจสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ สภาวะที่ละสุขสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสสนา
ฯลฯ สภาวะที่ละอัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่
ละนันทิย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละราคะย่อมสำเร็จได้
ด้วยวิราคานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละสมุทัยย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ
สภาวะที่ละอาทานะย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพากุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละมี
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ (4)
[16] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิวรณ์ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละวิตกวิจารย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละปีติย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน
ฯลฯ สภาวะที่ละสุขและทุกข์ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ สภาวะที่ละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :569 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากาสานัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละวิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระสารีบุตรมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสัญชีวะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระขาณุโกณฑัญญะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ อุตตราอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ สามาวดีอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ (5)
[17] ฤทธิ์ของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่
ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้
ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงเว้น
สิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่”
ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมไปโดยความไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนา
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :570 }