เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
คำว่า เดินไปบนน้ำ ฯลฯ เหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ อธิบายว่าท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงน้ำแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
“จงเป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกก็ได้
ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป
บนดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติเดินไปบนแผ่นดินโดย
แผ่นดินไม่แตก ฉะนั้น
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เป็น
ผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงอากาศแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จง
เป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ในกลางอากาศ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง
นอนบ้าง ในกลางอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น
[12] คำว่า ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือ
นอนก็ตาม นึกถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ” ก็มีในที่ใกล้มือได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นนั่งหรือนอน
ก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญ
แห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ เปรียบ
เหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติย่อมสัมผัสรูปอะไร ๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่
ใกล้ว่า “จงเป็นที่ใกล้” ก็เป็นที่ใกล้ได้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า “จงเป็นที่ไกล”
ก็เป็นที่ไกลได้ อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า “จงเป็นของน้อย” ก็เป็นของ
น้อยได้ อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า “จงเป็นของมาก” ก็เป็นของมากได้
ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพพจักขุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพพโสตธาตุ
ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :567 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานด้วยอำนาจกาย
ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาแล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้นประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่
ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานด้วยอำนาจจิต ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา
แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์เนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจ
มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มี
ฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายเนรมิตนั้นก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกาย
เนรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายเนรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายเนรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวน
ควันอยู่ รูปกายเนรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟลุกอยู่ รูป-
กายเนรมิตก็ให้ไฟลุกอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ รูปกายเนรมิต
ก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่ รูปกายเนรมิตก็ถาม
ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถูกรูปกายเนรมิตถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ รูป-
กายเนรมิตถูกท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืน
สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ รูปกายเนรมิตก็ยืนสนทนาปราศรัยกับพรหม
นั้นอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใดอยู่ รูปกายเนรมิตก็ทำกิจนั้น ๆ นั่นเอง
นี้ฤทธิที่อธิษฐาน (1)
[13] ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระเถระชื่ออภิภูเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดง
ธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่าง
ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏ
ก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปกติแล้วแสดงเพศกุมาร
บ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง
แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงรูปสมุทร
บ้าง แสดงรูปภูเขาบ้าง แสดงรูปป่าบ้าง แสดงรูปราชสีห์บ้าง แสดงรูปเสือโคร่งบ้าง
แสดงรูปเสือเหลืองบ้าง แสดงรูปช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดง
พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง นี้ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่างๆ (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :568 }