เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
มูลแห่งฤทธิ์ 16 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. จิตไม่ฟุบลงย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา (ไม่หวั่นไหว)
2. จิตไม่ฟูขึ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
3. จิตไม่ยินดีย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
4. จิตไม่มุ่งร้ายย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
5. จิตอันทิฏฐิไม่อาศัยย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
6. จิตไม่พัวพันย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอาเนญชา
7. จิตหลุดพ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
8. จิตไม่เกาะเกี่ยวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
9. จิตปราศจากเครื่องครอบงำย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำ
กิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
10. จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ย่อมไม่หวั่นเพราะกิเลสต่าง ๆ1 เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
11. จิตที่กำหนดด้วยศรัทธาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
12. จิตที่กำหนดด้วยวิริยะย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา

เชิงอรรถ :
1 กิเลสต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ (ขุ.ป.อ. 2/9/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :564 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
13. จิตที่กำหนดด้วยสติย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
14. จิตที่กำหนดด้วยสมาธิย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
15. จิตที่กำหนดด้วยปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
16. จิตที่ถึงความสว่างไสวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
มูลแห่งฤทธิ์ 16 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ
ฤทธิ์ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญ
ในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

ทสอิทธินิทเทส
แสดงฤทธิ์ 10 อย่าง
[10] ฤทธิ์ที่อธิษฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ แสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือน
ดำลงในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มี
อานุภาพมากอย่างนั้นก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้
ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :565 }