เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
2. อิทธิกถา
ว่าด้วยฤทธิ์
[9] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร มูลแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ถาม : ฤทธิ์เป็นอย่างไร
ตอบ : ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ถาม : ฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ฤทธิ์มี 10 อย่าง
ถาม : ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ภูมิแห่งฤทธิ์มี 4 อย่าง ... บาทแห่งฤทธิ์มี 4 อย่าง ... บทแห่งฤทธิ์มี
8 อย่าง ... มูลแห่งฤทธิ์มี 16 อย่าง
ฤทธิ์ 10 อย่าง อะไรบ้าง คือ

1. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน 2. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
3. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ 4. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
5. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ 6. ฤทธิ์ของพระอริยะ
7. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม 8. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
9. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

10. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
ภูมิแห่งฤทธิ์ 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดจากวิเวก
2. ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข
3. ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข
4. จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :562 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
ภูมิแห่งฤทธิ์ 4 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บาทแห่งฤทธิ์ 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
2. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
3. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
4. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
บาทแห่งฤทธิ์ 4 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บทแห่งฤทธิ์ 8 อย่าง อะไรบ้าง คือ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยจิตตะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตตะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
จิตตะ จิตตะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่
ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
บทแห่งฤทธิ์ 8 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :563 }