เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับโทสะไว้ ละ บรรเทา ทำโทสะให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ฯลฯ โมหะ ฯลฯ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ
ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ
ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นไว้
ละ บรรเทา ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความ
ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำให้บรรลุ ทำให้แจ้ง ทำให้
ถูกต้องอริยมรรค 4 สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 ณ อาสนะเดียว
นี้ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
เฉียบแหลม (15)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส อธิบายว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความ
หวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มาก
ด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลาย
กองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ย่อมชำแรก ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ
มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :558 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 2. ปุคคลวิเสสนิทเทส
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาด
เสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วย
ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส นี้ชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (16)
ปัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปัญญา 16 ประการ บุคคลประกอบด้วยปัญญา 16
ประการนี้ ชื่อว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

2. ปุคคลวิเสสนิทเทส
แสดงบุคคลวิเศษ
[8] บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อน พวกหนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน พวกที่ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมา
ก่อนนั้น และญาณของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 จำพวก คือ พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร
มาก่อนก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งเป็นพหูสูต พวกหนึ่งไม่ได้เป็นพหูสูต พวกที่
เป็นพหูสูตเป็นพวกที่ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพหูสูตนั้น และญาณของ
บุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี 2 จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี 2 จำพวก คือ
พวกหนึ่งมากด้วยเทศนา พวกหนึ่งไม่มากด้วยเทศนา พวกที่มากด้วยเทศนาเป็นผู้
ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่มากด้วยเทศนานั้น และญาณของบุคคลผู้มากด้วย
เทศนานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี 2 จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี 2 จำพวก และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :559 }