เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
พลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอิทธิบาทได้
เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญพละได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอริยมรรคได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำ
ให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วพลัน นี้
ชื่อว่าปัญญาพลัน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน (12)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง อธิบายว่า ปัญญาร่าเริง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดี
มาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญา
ร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความ
ยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา เพราะเหตุนั้น ปัญญา
นั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เพราะ
เหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... รู้แจ้งฐานะและอฐานะ ... บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้
เต็มรอบ ... รู้แจ้งอริยสัจ ... เจริญสติปัฏฐาน ... เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :555 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์ ... เจริญอริยมรรค ... บุคคล
บางคนในโลกนี้ ... ทำให้แจ้งสามัญญผล
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งอภิญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มี
ความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญานั้น
เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริง ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (13)
[7] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป อธิบายว่า
ปัญญาแล่นไป เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่รูปทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่
ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดย
ความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่วิญญาณทั้งปวงที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญา
แล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไป โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร พลันแล่น
ไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :556 }