เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
2 ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบนก็ไม่เกิน
ด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง 2 ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน ฉันใด
บทธรรมที่ควรแนะนำและพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ
ของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็
มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระ
ญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมี
พระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินกว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ
ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ในส่วนสุดรอบของกันและกัน
พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง
นับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ นับเนื่อง
ด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต
อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม ที่พระองค์พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และปลาติมิ-
ติมิงคละ1ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ย่อมเป็นไปภายใน
พระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนามว่า เวนไตย
ย่อมบินไปในอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตรด้วย

เชิงอรรถ :
1 ปลาทั้ง 3 ตัวนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้ และปลาติมิติมิงคละมี
ขนาดลำตัวใหญ่ถึง 500 โยชน์ สามารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ป.อ. 2/5/300, ขุ.ม.อ. 69/297)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :551 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
ปัญญาก็ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณ
ย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มี
ปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะ
เที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่ง
ปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้น พระผู้
มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาเพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่ใกล้ ใน
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ (8)
[6] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อธิบายว่า ปัญญา
ดุจแผ่นดิน เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำราคะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ
ครอบงำโมหะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำโกธะแล้ว ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำอุปนาหะ
ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวงแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีราคะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญา
ดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโทสะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :552 }