เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
บุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดปฏิภาณ
อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้นใครอื่นสามารถจะถึงได้ และบุคคล
นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ปุถุชนอื่น ๆ ไม่สามารถจะเทียมทันได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น
จึงเป็นปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ
บุคคลที่ 81 เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ 8 มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของบุคคลที่ 8 ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
โสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ 8 พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
สกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
[5] พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน
ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ 42 เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็น
บุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย

เชิงอรรถ :
1 บุคคลที่ 8 ในที่นี้หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. 2/5/295)
2 เวสารัชชญาณ 4 ได้แก่ (1) สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้
ท่านยังไม่รู้) (2) ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น)
(3) อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจก่ออันตรายแก่
ผู้เสพได้จริง) (4) นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็น
ทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง) (ขุ.ป.อ. 2/5/295)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :549 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศ
หาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีพระปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ
เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา
ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงทำมรรค
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่
ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วย
ศีลาทิคุณในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความ
หมายออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้
แจ้ง มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ย่อมมาสู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าโดยอาการทั้งปวง
ธรรมดาประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์
ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง
ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์
ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม
เป็นไปภายในพระพุทธญาณ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่างย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ติดขัดในอดีต อนาคต
ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่
เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อม
ไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน
กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันเหมือนชั้นแห่งผอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :550 }