เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
อายตนะลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิจจสมุปบาทลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้งเพราะญาณ
เป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปัญญา-
ขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์
ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง
เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน
สติปัฏฐานต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในพละต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ
ญาณเป็นไปในอภิญญาลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่
เป็นประโยชน์ลึกซึ้ง นี้ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาลึกซึ้ง (7)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ อธิบายว่า ปัญญาไม่ใกล้
เป็นอย่างไร
คือ อัตถปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดอรรถ ธัมมปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
แล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :548 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
บุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดปฏิภาณ
อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้นใครอื่นสามารถจะถึงได้ และบุคคล
นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ปุถุชนอื่น ๆ ไม่สามารถจะเทียมทันได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น
จึงเป็นปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ
บุคคลที่ 81 เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ 8 มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของบุคคลที่ 8 ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
โสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ 8 พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
สกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
[5] พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน
ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ 42 เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็น
บุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย

เชิงอรรถ :
1 บุคคลที่ 8 ในที่นี้หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. 2/5/295)
2 เวสารัชชญาณ 4 ได้แก่ (1) สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้
ท่านยังไม่รู้) (2) ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น)
(3) อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจก่ออันตรายแก่
ผู้เสพได้จริง) (4) นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็น
ทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง) (ขุ.ป.อ. 2/5/295)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :549 }