เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ปัญญาของพระเสขะ 7 จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมเจริญ
ปัญญาของพระอรหันต์ ย่อมเจริญ ชื่อว่าความเจริญด้วยปัญญาที่เจริญแล้ว นี้ชื่อ
ว่าความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (2)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา อธิบายว่า ความไพบูลย์
แห่งปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาของพระเสขะ 7 จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ
ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ที่ถึงความไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (3)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก อธิบายว่า ปัญญามาก
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอรรถได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดธรรมได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิรุตติได้มาก ชื่อว่าปัญญา
มาก เพราะกำหนดปฏิภาณได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสีลขันธ์ได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดปัญญาขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติขันธ์ได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดฐานะและอฐานะได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิหารสมาบัติได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยสัจได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
สติปัฏฐานได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสัมมัปปธานได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดอิทธิบาทได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
อินทรีย์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดพละได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก
เพราะกำหนดโพชฌงค์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยมรรคได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสามัญญผลได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดอภิญญาได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งได้มาก นี้ชื่อว่าปัญญามาก ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญามาก (4)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :545 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง อธิบายว่า ปัญญา
กว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอายตนะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติ
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสติปัฏฐานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะ
ญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็น
ไปในพละต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ กว้าง
ขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอภิญญาต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเหนือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :546 }