เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้เป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[3] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ)
2. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังพระสัทธรรม)
3. โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย)
4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ธรรม 4 ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ธรรม 4 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัปปุริสสังเสวะ 2. สัทธัมมัสสวนะ
3. โยนิโสมนสิการ 4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม 4 ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :543 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา 1. โสฬสปัญญานิทเทส
ธรรม 4 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์
แห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯลฯ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาไม่ใกล้ ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ฯลฯ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาร่าเริง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป ฯลฯ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ชำแรกกิเลส
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัปปุริสสังเสวะ 2. สัทธัมมัสสวนะ
3. โยนิโสมนสิการ 4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม 4 ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

1. โสฬสปัญญานิทเทส
แสดงปัญญา 16 ประการ
[4] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา อธิบายว่า การได้ปัญญา เป็น
อย่างไร
คือ การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงเฉพาะ การถูกต้อง การทำให้แจ้ง
การเข้าถึงพร้อมซึ่งมัคคญาณ 4 ผลญาณ 4 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อภิญญา-
ญาณ 6 ญาณ 73 ญาณ 77 นี้ชื่อว่าการได้ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อได้ปัญญา (1)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา อธิบายว่า ความเจริญแห่ง
ปัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :544 }