เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 1. มหาปัญญากถา
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบแหลม
ให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไพบูลย์ให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไม่ใกล้ให้
เต็มรอบ
ปัญญา 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา 8 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา 9 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :538 }