เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
24. ปริโยคาหนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริโยคาหน-
สุญญะ
25. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในโลกนี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็น
ไปแห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ทำความ
เป็นไปแห่งอวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ทำความเป็นไปแห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ
ทำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลส
ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไป
แห่งชิวหา ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ
ความเป็นไปแห่งมโนนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความ
ว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไป
แห่งกิเลสให้สิ้นไป ฉะนี้

สุญญกถา จบ
ยุคนัทธวรรคที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :535 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ยุคนัทธกถา 2. สัจจกถา
3. โพชฌงคกถา 4. เมตตากถา
5. วิราคกถา 6. ปฏิสัมภิทากถา
7. ธัมมจักกกถา 8. โลกุตตรกถา
9. พลกถา 10. สุญญกถา

วรรคที่ 2 นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :536 }