เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
เป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอวิกเขปะ
และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่านิสสรณสุญญะ
11. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนที่เป็นอายตนะ
ภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จาก
ความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า
อัชฌัตตสุญญะ
12. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จาก
ความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา
นี้ชื่อว่าพหิทธาสุญญะ
13. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายในและรูปที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็น
ธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน
จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะที่เป็นอายตนะภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :531 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
และสัททะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ฆานะที่เป็นอายตนะภายในและคันธะ
ที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอายตนะภายในและรสที่เป็นอายตนะภายนอก
ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะภายในและโผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ มโน
ที่เป็นอายตนะภายในและธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็นธรรม
ว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จาก
ความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน นี้ชื่อว่าทุภโตสุญญะ
14. สภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน 6 เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง อายตนะ
ภายนอก 6 เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดวิญญาณ 6 เป็น
ธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ 6 เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา 6 เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวด
สัญญา 6 เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดเจตนา 6 เป็นธรรม
กลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง นี้ชื่อว่าสภาคสุญญะ
15. วิสภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน 6 เป็นธรรมต่างกลุ่มกับอายตนะภายนอก 6 และ
เป็นธรรมว่าง อายตนะภายนอก 6 เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดวิญญาณ 6
และเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ 6 เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเวทนา 6 และ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา 6 เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดสัญญา 6 และเป็น
ธรรมว่าง หมวดสัญญา 6 เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเจตนา 6 และเป็นธรรมว่าง
นี้ชื่อว่าวิสภาคสุญญะ
16. เอสนาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลแสวงหา เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลแสวงหา
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลแสวงหาเป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอสนาสุญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :532 }