เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
8. สมุจเฉทสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลตัตขาดด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่าง
จากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอาโลกสัญญา และเป็น
ธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอวิกเขปะ และ
เป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าสมุจเฉทสุญญะ
9. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยเนกขัมมะ และเป็น
ธรรมว่างจากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอพยาบาท
และเป็นธรรมว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วย
อาโลกสัญา และเป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้
สงบระงับด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่
บุคคลทำให้สงบระงับด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน
อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ
อรติเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอรหัตตมรรค
และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่า
ปฏิปัสสัทธิสุญญะ
10. นิสสรณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่าง
จากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอพยาบาท และเป็นธรรม
ว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอาโลกสัญญา และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :530 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
เป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอวิกเขปะ
และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่านิสสรณสุญญะ
11. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนที่เป็นอายตนะ
ภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จาก
ความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า
อัชฌัตตสุญญะ
12. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จาก
ความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา
นี้ชื่อว่าพหิทธาสุญญะ
13. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายในและรูปที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็น
ธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน
จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะที่เป็นอายตนะภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :531 }