เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
5. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ลักษณะ 2 ประการ ได้แก่
1. พาลลักษณะ1 (ลักษณะคนพาล)
2. บัณฑิตลักษณะ2 (ลักษณะบัณฑิต)
พาลลักษณะ เป็นธรรมว่างจากบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากพาลลักษณะ
ลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
1. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
2. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม)
3. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่)
อุปปาทลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อุปปาทลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ

เชิงอรรถ :
1 พาลลักษณะ หมายถึงลักษณะคนพาล 3 ประการ คือ (1) คิดแต่เรื่องที่ชั่ว (2) พูดแต่สิ่งที่ชั่ว (3) ทำแต่
กรรมที่ชั่ว (ขุ.ป.อ. 2/48/283)
2 บัณฑิตลักษณะ หมายถึงลักษณะบัณฑิต 3 ประการ คือ (1) คิดแต่เรื่องที่ดี (2) พูดแต่สิ่งที่ดี (3) ทำแต่
กรรมดี (ขุ.ป.อ. 2/48/283)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :528 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและ
วยลักษณะ
นี้ชื่อว่าลักขณสุญญะ
6. วิกขัมภนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็น
ธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยญาณ และเป็นธรรม
ว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจาก
ปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ1 กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็น
ธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิกขัมภนสุญญะ
7. ตทังคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรม
ว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยญาณ และเป็นธรรมว่าง
จากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตต-
มรรค นี้ชื่อว่าตทังคสุญญะ

เชิงอรรถ :
1 ดูองค์ธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม 37 คู่ ในข้อที่ 28 (สุตมยญาณที่ 4) หน้า 41-44 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :529 }