เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สังขาร 3 ประการ ได้แก่
1. กายสังขาร 2. วจีสังขาร
3. จิตตสังขาร
กายสังขาร เป็นธรรมว่างจากวจีสังขารและจิตตสังขาร
วจีสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและจิตตสังขาร
จิตตสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและวจีสังขาร
นี้สังขาร 3 ประการ
อีกนัยหนึ่ง สังขาร 3 ประการ ได้แก่
1. สังขารส่วนอดีต 2. สังขารส่วนอนาคต
3. สังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอดีต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอนาคต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต
นี้สังขาร 3 ประการ
นี้ชื่อว่าสังขารสุญญะ
3. วิปริณามสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ รูปที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
เวทนาที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ เวทนาที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ภพที่เกิดแล้วเป็น
ธรรมว่างตามสภาวะ ภพที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง นี้ชื่อว่าวิปริณามสุญญะ
4. อัคคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ทางที่เลิศ ทางที่ประเสริฐ ทางที่วิเศษ คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน นี้ชื่อว่า อัคคสุญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :527 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส
5. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ลักษณะ 2 ประการ ได้แก่
1. พาลลักษณะ1 (ลักษณะคนพาล)
2. บัณฑิตลักษณะ2 (ลักษณะบัณฑิต)
พาลลักษณะ เป็นธรรมว่างจากบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากพาลลักษณะ
ลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
1. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
2. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม)
3. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่)
อุปปาทลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อุปปาทลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ

เชิงอรรถ :
1 พาลลักษณะ หมายถึงลักษณะคนพาล 3 ประการ คือ (1) คิดแต่เรื่องที่ชั่ว (2) พูดแต่สิ่งที่ชั่ว (3) ทำแต่
กรรมที่ชั่ว (ขุ.ป.อ. 2/48/283)
2 บัณฑิตลักษณะ หมายถึงลักษณะบัณฑิต 3 ประการ คือ (1) คิดแต่เรื่องที่ดี (2) พูดแต่สิ่งที่ดี (3) ทำแต่
กรรมดี (ขุ.ป.อ. 2/48/283)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :528 }