เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 1. บทมาติกา
จากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจาก
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิดเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
โสตะ ฯลฯ สัททะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ
กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ธรรมารมณ์เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนวิญญาณเป็น
ธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตา
และจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง”

1. บทมาติกา

[47] 1. สุญญสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ว่าง)
2. สังขารสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสังขาร)
3. วิปริณามสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แปรผัน)
4. อัคคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเลิศ)
5. ลักขณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นลักษณะ)
6. วิกขัมภนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุข่ม)
7. ตทังคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ)
8. สมุจเฉทสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตัดขาด)
9. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้สงบระงับ)
10. นิสสรณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุสลัดออก)
11. อัชฌัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายใน)
12. พหิทธาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายนอก)
13. ทุภโตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายในและภายนอก)
14. สภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นกลุ่มเดียวกัน)
15. วิสภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ต่างกลุ่มกัน)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :525 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา 2. นิทเทส

16. เอสนาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แสวงหา)
17. ปริคคหสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่กำหนด)
18. ปฏิลาภสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ได้)
19. ปฏิเวธสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่รู้แจ้ง)
20. เอกัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะเดียว)
21. นานัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะต่าง ๆ)
22. ขันติสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่พอใจ)
23. อธิษฐานสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่อธิษฐาน)
24. ปริโยคาหนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่หยั่งลง)

25. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มี
สัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป

2. นิทเทส
[48] 1. สุญญสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง
จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ
ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าสุญญสุญญะ
2. สังขารสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ สังขาร 3 ประการ ได้แก่
1. ปุญญาภิสังขาร 2. อปุญญาภิสังขาร
3. อาเนญชาภิสังขาร
ปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากอปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร
นี้สังขาร 3 ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :526 }