เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ1ปัญญาวิมุตติ2อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน3 การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า
ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้วยืนยันฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท นี้ตถาคตพละ 10 (10) (=68)
[45] ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าหิริพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่า
วิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่น
ไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
หิริพละ เพราะละอายบาปอกุศลธรรม ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวบาป-
อกุศลธรรม ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
อนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคหพละ เพราะ
พระโยคาวจรรวมจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะ
เป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระ
โยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจร
ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรย่อม

เชิงอรรถ :
1 เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. 2/12/84)
2 ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. 2/12/84)
3 ในปัจจุบัน หมายถึงในอัตภาพนี้ (ขุ.ป.อ. 2/44/274)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :523 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 10. สุญญกถา
บังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะ
พระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะพระ
โยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระ
เสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น1 ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จด้วยการ
อธิษฐานเป็นต้นด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าตถาคตพละ
เพราะมีสภาวะมีกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้
พลกถา จบ

10. สุญญกถา
ว่าด้วยความว่าง
[46] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เขากล่าวกันว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า
‘โลกว่าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าว่างจากอัตตาและ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา รูปว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณเป็นธรรมว่าง

เชิงอรรถ :
1 ความเห็นด้วยดี ในที่นี้หมายถึงญาณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ (ขุ.ป.อ. 2/45/276)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :524 }