เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ขีณาสวพละ 10 เป็นอย่างไร
คือ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยัน
ความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (1)
กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่า
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (2)
จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ใน
วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
ทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความ
สิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (3)
สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่สติปัฏฐาน
4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่ง
ภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเรา
สิ้นแล้ว” (4)
สัมมัปปธาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ อิทธิบาท 4
ฯลฯ อินทรีย์ 5 ฯลฯ พละ 5 ฯลฯ โพชฌงค์ 7 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8
เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้
อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ 10 (5-10) (=48)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :520 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
อิทธิพละ 10 อะไรบ้าง คือ

1. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน 2. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
3. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ 4. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
5. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ 6. ฤทธิ์ของพระอริยะ
7. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม 8. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
9. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

10. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
นี้อิทธิพละ 10 (10) (=58)
ตถาคตพละ 10 อะไรบ้าง
คือ ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะ1โดยความเป็นอฐานะใน
โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะโดย
ความเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ยืนยันฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท2ประกาศพรหมจักรในบริษัท3 (1)
ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม
ที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็น
กำลังของตถาคต ฯลฯ (2)

เชิงอรรถ :
1 ฐานะและอฐานะ ได้แก่ การณะและอการณะ (เหตุและสิ่งมิใช่เหตุ) (ขุ.ป.อ. 2/44/270)
2 บันลือสีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใดเพราะทรงมั่น
พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา 1/403/432)
3 บริษัท ในที่นี้หมายถึงกลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระ
ธรรมเทศนามี 8 กลุ่ม คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกา-
บริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ขุ.ป.อ. 2/44/271, ม.มู. 12/151/112)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :521 }