เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค
นี้เป็นอธิษฐานพละ (16)
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจเนกขัมมะ เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอพยาบาท เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอาโลกสัญญา เป็น
สมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสมถพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ-
ฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอากาสานัญ-
จายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อ
ว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอุทธัจจะ
เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้เป็นสมถพละ (17)
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปเป็น
วิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :518 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและ
มรณะเป็นวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุ-
ปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่
หวั่นไหวในสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวใน
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ (18)
เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า
อเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษา
สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯลฯ สัมมาญาณ1 ฯลฯ สัมมาวิมุตติ2 ชื่อว่าอเสกขพละ
เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตตินั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ 10
อเสกขพละ 10 นี้แล (19-20) (=38)

เชิงอรรถ :
1 สัมมาญาณ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ขุ.ป.อ. 2/44/ 267)
2 สัมมาวิมุตติ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยผลเว้นมรรคมีองค์ 8 (ขุ.ป.อ. 2/44/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :519 }