เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ปัญญัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
ปัญญัตติพละ (13)
นิชฌัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
นิชฌัตติพละ (14)
อิสสริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิต
ให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจร
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่า
อิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจ
ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
กิเลสทั้งปวง ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
อิสสริยพละ (15)
อธิษฐานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :517 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค
นี้เป็นอธิษฐานพละ (16)
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจเนกขัมมะ เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอพยาบาท เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอาโลกสัญญา เป็น
สมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสมถพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ-
ฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอากาสานัญ-
จายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อ
ว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอุทธัจจะ
เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้เป็นสมถพละ (17)
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปเป็น
วิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :518 }