เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
9. พลกถา
ว่าด้วยพละ
[44] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาพละ (พละคือศรัทธา) 2. วิริยพละ (พละคือวิริยะ)
3. สติพละ (พละคือสติ) 4. สมาธิพละ (พละคือสมาธิ)
5. ปัญญาพละ (พละคือปัญญา)

อีกอย่างหนึ่ง พละ 68 ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ
สังคหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสสริยพละ อธิษฐานพละ
สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 ขีณาสวพละ 10
อิทธิพละ 10 ตถาคตพละ 10
สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ
เพราะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่า
สัทธาพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) ตั้งอยู่
เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ (1)
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :513 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ทั้งหลาย ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็น
วิริยพละ (2)
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสติพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล
ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ (3)
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะให้การก-
บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ (4)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะให้
การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ (5)
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายถีนมิทธะด้วย
อาโลกสัญญา ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอวิชชา
ด้วยญาณ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะ
ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นหิริพละ (6)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :514 }