เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 8. โลกุตตรกถา
โลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้อง
แต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออก
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจดจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
กว่าโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดกว่าโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะออกไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะกลับจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะไม่ข้องในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ยึดในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่
พัวพันในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาดแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับแล้ว ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่กลับมาสู่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นคติของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็น
วิสัยของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นสาธารณะของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะปราศจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เวียนมาสู่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะละโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ให้โลกเกิด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เยื่อใย
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะนำโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกำจัดโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่อบโลกให้งาม ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงโลก ครอบงำโลก
ตั้งอยู่ ฉะนี้แล
โลกุตตรกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :512 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
9. พลกถา
ว่าด้วยพละ
[44] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาพละ (พละคือศรัทธา) 2. วิริยพละ (พละคือวิริยะ)
3. สติพละ (พละคือสติ) 4. สมาธิพละ (พละคือสมาธิ)
5. ปัญญาพละ (พละคือปัญญา)

อีกอย่างหนึ่ง พละ 68 ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ
สังคหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสสริยพละ อธิษฐานพละ
สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 ขีณาสวพละ 10
อิทธิพละ 10 ตถาคตพละ 10
สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ
เพราะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่า
สัทธาพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) ตั้งอยู่
เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ (1)
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :513 }