เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 6. ปฏิสัมภิทากถา 9. ฉพุทธธัมมวาร
9. ฉพุทธธัมมวาร
วาระว่าด้วยพุทธธรรม 6 ประการ
[38] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในความยิ่ง
และความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของ
สัตว์ทั้งหลายที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
ไม่มี” ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย มีธรรม 25
มีอรรถ 25 มีนิรุตติ 50 มีญาณ 100
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในอาสยะและอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในยมกปาฏิหาริย์” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในมหากรุณาสมาบัติ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สัพพัญญุตญาณ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “อนาวรณญาณเรารู้แล้ว
เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อนาวรณญาณที่
เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” อนาวรณ-
ญาณ มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุตติ 50 มีญาณ 100
ในพุทธธรรม 6 มีธรรม 150 มีอรรถ 150 มีนิรุตติ 300 มีญาณ 600
ในปฏิสัมภิทากถานี้ มีธรรม 850 มีอรรถ 850 มีนิรุตติ 1,700 มีญาณ
3,400
ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :500 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 7. ธัมมจักกกถา 1. สัจจวาร
7. ธัมมจักกกถา
ว่าด้วยธรรมจักร
1. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[39] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ฯลฯ1 ดังนั้น คำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่าน
โกณฑัญญะนั่นแล
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม สภาวะที่รู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ
แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม 5 ประการ อรรถ 5 ประการ
นี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐาน
อยู่ในสัจจะ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มข้อ 30 หน้า 483-487 ในธัมมจักกัปปวัตตนวาร ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :501 }