เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[47] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยความรู้)
[48] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยการสละ)
[49] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้)
[50] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย
อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่
ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
[51] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ (ญาณในความ
หมดจดแห่งโสตธาตุ)
[52] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต 3
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้)
[53] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ
แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)
[54] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ
แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
[55] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64 ชื่อว่า
อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ)
[56] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[57] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :5 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[58] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ)
[59] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค)
[60] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[61] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์)
[62] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์)
[63] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
[64] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ)
[65] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[66] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ)
[67] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ)
[68] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย)
[69] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย)
[70] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์)
[71] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ)
[72] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง)
[73] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น)
ญาณเหล่านี้รวมเป็น 73 ประการ ในญาณทั้ง 73 ประการนี้ ญาณ 67
ประการ (เบื้องต้น) เป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ญาณ 6 ประการ (เบื้องปลาย)
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก (เฉพาะพระตถาคตเท่านั้น)

มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :6 }