เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 6. ปฏิสัมภิทากถา 2. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ”
ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ
พิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม 5 ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ 5 ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :491 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 6. ปฏิสัมภิทากถา 2. สติปัฏฐานวาร
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ 10 ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 5
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการเป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ 20 ประการนี้ คือ ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ
ญาณในนิรุตติ 10 ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณ
ในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร
ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม 15 มีอรรถ 15 มี
นิรุตติ 30 มีญาณ 60
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิต
ในจิต” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้
นั้นควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญ
แล้ว” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :492 }