เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
และมนสิการที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่ง
ความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ (4-9)
[31] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “รูปไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ” การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ชราและมรณะไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะ
ไม่มีแก่นสาร” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (3-12)
[32] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
[33] บรรดาอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์1อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์ 5 เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิด
เฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว
คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของผู้
ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ2กระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ

เชิงอรรถ :
1 อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์และสังขาร (ขุ.ป.อ.1/32/160)
2 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. 1/33/166)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :50 }