เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
หยาบ ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิต
ภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอนาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
ละเอียด ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจาก
สรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอรหัตตผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย
จากอวิชชานุสัย พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้น
จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงใน
วิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิมุตติ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ วิมุตติคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ
วิมุตติคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ วิมุตติคือการพิจารณา
ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ฯลฯ
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :480 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
วิมุตติคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์
วิมุตติที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิมุตติที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิมุตติที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิมุตติที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิมุตติที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ วิมุตติที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิมุตติที่
ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น วิมุตติที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิมุตติที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม วิมุตติที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิมุตติที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิมุตติที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ วิมุตติที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมี
สภาวะสงบระงับ วิมุตติที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิมุตติที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิมุตติที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่รวม วิมุตติที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิมุตติที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน วิมุตติที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อ
ว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะ
มีสภาวะเป็นแก่นสาร วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
วิมุตติชื่อว่าผลอย่างนี้ วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล ด้วยประการฉะนี้

วิราคกถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :481 }