เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
วิราคะที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิราคะที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิราคะที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิราคะที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น วิราคะ
ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิราคะที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะ
ให้สำเร็จ วิราคะที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิราคะที่ชื่อว่าสมถะ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน วิราคะที่ชื่อว่าธรรม
ที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิราคะที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ1 เพราะมีสภาวะสำรวม วิราคะที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ2
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิราคะที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ3 เพราะมีสภาวะสละ วิราคะที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะ
มีสภาวะตัดขาด วิราคะที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิราคะที่ชื่อว่ามนสิการ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิราคะที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
วิราคะที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิราคะที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมี
สภาวะเป็นประธาน วิราคะที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
เป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ ฯลฯ มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด
วิราคะชื่อว่ามรรคอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 สีลวิสุทธิ หมายถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ (ขุ.ป.อ. 2/28/249)
2 จิตตวิสุทธิ หมายถึงสัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. 2/28/249)
3 วิมุตติ หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. 2/28/249)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :478 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
[29] วิมุตติชื่อว่าผล เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และ
พ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวม
ลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิมุตติ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมพ้นจากมิจฉา-
สังกัปปะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ย่อมพ้นจาก
มิจฉาวาจา ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน
ย่อมพ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะ
ผ่องแผ้ว ย่อมพ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ย่อมพ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสติ
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมพ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตาม
มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็น
อารมณ์มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิมุตติ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งสกทาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :479 }